ads 728x90

เริม VS คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

เริม เป็นโรคติดต่อที่ติดง่ายจากสารคัดหลั่งทั้งทางน้ำลาย และการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้นไวรัสเริมยังมีระยะฟักตัวตั้งแต่ 30 – 180 วัน บ่อยครั้งที่คุณแม่อาจจะไม่ทราบว่าตนเองได้รับเชื้อเริม (เพราะยังไม่แสดงอาการ) หากแม่เป็นเริมในขณะตั้งครรภ์จะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง รวมถึงหากได้รับเชื้ออื่นๆ จะเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากค่ะ


โดยปกติภูมิคุ้มกันจากแม่จะส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ ดังนั้นหากคุณแม่เป็นเริม ทารกในครรภ์จะมีโอกาสติดเชื้อในอัตรา 1 ใน 20,000 หรือแม่ที่ติดเชื้อเริมก่อนคลอดเพียงเล็กน้อย โอกาสที่ทารกจะติดเชื้อเริมจะมีประมาณ 25 – 40%

วิธีป้องกันทารกติดเชื้อเริมก็คือ การตรวจหาโรคเริมในแม่ก่อนคลอด หากพบเชื้อเริม คุณหมอจะทำคลอดโดยวิธีผ่าตัด แต่ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อเริมมีราคาแพงมาก จึงไม่แนะนำวิธีนี้นอกจากตัวคุณแม่เองเคยมีประวัติการติดเชื้อเริมที่บริเวณช่องคลอดมาก่อน

ส่วนโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ แพทย์จะต้องวินิจฉัยเป็นกรณีไป ดังนี้
โรคหนองใน หากทารกติดเชื้ออาจทำให้ตาบอดได้ คุณแม่จะต้องรักษาให้หายขาดก่อนเริ่มตั้งครรภ์ และทารกแรกเกิดทุกคนจะได้รับการหยอดยาหรือป้ายยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหนองในจากการคลอด
โรคซิฟิลิส มีผลกระทบต่อระบบกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ มีการทำลายเนื้อเยื่อระบบประสาทส่วนกลาง อาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นในการฝากครรภ์จะมีการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อนี้ทุกคน เพราะโรคนี้อาจไม่มีอาการปรากฏ และหากพบเชื้อนี้ จะต้องรักษาให้หายก่อนอายุครรภ์ครบ 4 เดือน
โรคติดเชื้อคลาไมเดีย ทารกที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการตาอักเสบอย่างรุนแรง รักษาโดยการใช้ยาป้ายตาที่มียาปฏิชีวนะต่อต้านเชื้อนี้โดยเฉพาะ
โรคเอดส์ ทารกในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อ 20-65% และจะแสดงภาวะการเป็นโรคหลังจากคลอดได้ 6 เดือน และตัวคุณแม่เองจะมีสุขภาพที่แย่ลงหลังคลอด ดังนั้นจะต้องทดสอบการติดเชื้ออย่างระมัดระวัง และควรตรวจสอบซ้ำ 2 ครั้งเพื่อให้ผลแน่นอน

ขอบคุณที่มา babytrick.com
 

Most Reading