ads 728x90

การดูโทรทัศน์ในเด็กเล็กๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ?

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผลกระทบของการดูโทรทัศน์ในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ เป็นเรื่องที่เถียงกันอย่างมาก ทุกๆ ปีมีการทำสถิติเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ของเด็ก และพบว่าเด็กบางกลุ่มมีสัญญาณเตือนที่น่ากลัว

โดยเฉลี่ยเด็กอเมริกันดูโทรทัศน์ 4 ชม. ต่อวัน (ที่มา www.app.org) ในขณะที่ร้อยละ 20 ของเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบมีโทรทัศน์ในห้องพวกเขา ในเด็กทารกอายุ 3 เดือนลงมามีถึง 40 เปอร์เซ็นต์ที่ดูโทรทัศน์ และมีเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับเด็กอายุ 2 ขวบ (ที่มา http://seattlepi.nwsource.com/local/314676_babytube08.html) การศึกษาพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ของเด็กในปี ค.ศ. 2003 พบว่าเด็ก 6 เดือนถึง 6 ปี ใช้เวลาถึงสองชั่วโมงกับ “สื่อจอ” เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และวิดีโอเกม (ที่มา CBS News) การศึกษายังพบอีกถึงการใช้เวลาที่ใช้ดูโทรทัศน์มากขึ้นและการอ่านที่น้อยลง

การศึกษาพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ในเด็กเหล่านี้ทำโดยแพทย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ ได้แนะนำให้ลดการดูโทรทัศน์ลงในเด็ก วีดีโอชุดหนึ่งที่ผลิตออกมาในต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 อย่างเช่น “Baby Einstein” และ “Brainy Baby” พบว่าอาจเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของเด็ก วิดีโอเหล่านี้ซึ่งมีผลิตในรูปแบบ VHS และ DVD ในเนื้อหามีบทสนทนาเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นภาพที่ทับต่อเนื่อง และมักจะไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งยากที่จะเข้าในเนื้อเรื่อง แต่วิดีโอชุดนี้ก็เป็นที่นิยมอย่างมาก อย่างเช่นชุด “Baby Einstein” ได้รับรายได้มากกว่า 500 ล้านเหรียญ (ที่มา Boston Globe) และ Disney ได้ซื้อบริษัทนี้ในปี ค.ศ. 2001 (ที่มา Denver Post)

ผู้ปกครองส่วนมาก กล่าวว่าพวกเขาใช้วิดีโอเหล่านี้เป็นเหมือนพี่เลี้ยงเด็ก การเปิด DVD ชุด “Baby Einstein” ให้เด็กดูเพื่อที่จะให้คุณแม่หรือคุณพ่อสามารถทำความสะอาดบ้านหรือจัดเตรียมอาหาร หรือดูแลงานอื่นๆ ได้ แต่นักวิจัยพบปัญหาว่าวีดีโอเหล่านี้ไม่ได้เป็นประโยชน์และอาจจะเป็นอันตรายต่อพวกเด็ก ๆ ได้

ปัญหาไม่เพียงเฉพาะเนื้อหาวิดีโอ ที่บทสนทนาที่มีเพียงเล็กน้อยหรือภาพต่อเนื่องที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่วิดีโดชุดนี้ยังอาจมีผลถึงการพัฒนาการของสมองในเด็กทารก สมองของเด็กเป็นสิ่งสำคัญมากในเด็กก่อนอายุ 2 ขวบ ซึ่งเป็นการพัฒนาเชื่อมต่อระบบประสาทและเติบโตขนาดของสมอง จำเป็นต้องมีสิ่งเร้าในการกระตุ้นการพัฒนาการของสมอง นักวิจัยแย้งว่าวิดีโอไม่ให้สิ่งเร้านี้

การศึกษาวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร “Journal of Pefiatrics” สุมตัวอย่าง 1,000 ครอบครัว ทดสอบเด็กอายุ 8 เดือนถึง 16 เดือน สำรวจให้เด็ก 32 เปอร์เซ็นต์ดูวิดีโอ โดยเด็ก 17 เปอร์เซ็นต์ของพวกเขาดูวิดีโดอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงต่อวัน ทดสอบใช้วิดีโอชุด “Baby Einstein” ว่ามีผลต่อการพัฒนาการของพวกเขาหรือไม่ โดยเน้นไปที่คำศัพท์ โดยเฉลี่ยทุกชั่วโมงของทุกวันเด็กที่ดูวิดีโอนี้เขารู้คำศัพท์น้อยลง 6-8 คำเมื่อเทียบกับเด็กอายุเดียวกัน แต่เด็กที่มีอายุ 17 -24 เดือน เมื่อทดสอบแล้วไม่มีผลกระทบใดๆ

สถานบันชั่นนำ “Frederick Zimmerman” ของมหาวิทยาลัยวอชิงตันกล่าวว่า “ไม่มีหลักฐานชัดเจนถึงประโยชน์ที่มาจากดีวีดีและวิดีโอของเด็กเล็ก และมีคำแนะนำบางอย่างถึงอันตรายกับเด็กเล็ก” (ที่มา Forbes)

ดังนั้นเราควรห้ามให้เด็กเล็กๆ ดูโทรทัศน์หรือไม่ ? ในตอนต่อไปเราจะไปถึงนักวิจัยคนอื่นพูดถึงการดูโทรทัศน์ในเด็กเล็ก และผู้เชี่ยวชาญแนะนำการดูโทรทัศน์ในเด็กเล็ก



ที่มา : howstuffworks.com แปละและเรียบเรียง : blog.mom2kids.com

ไม่ประมาท...พลั้งเผลอ ลดภัยเสี่ยงเด็กเล็กก่อนสาย!! (เดลินิวส์)

ไม่ประมาท...พลั้งเผลอ ลดภัยเสี่ยงเด็กเล็กก่อนสาย!! (เดลินิวส์)

ลูกคือ “โซ่ทองคล้องใจ” ของผู้เป็นพ่อแม่ เป็นสายใยรักที่เกิดขึ้นมา เพื่อเติมเต็มคำว่า “ครอบครัว” ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น...นับตั้งแต่วันที่ลูกน้อยลืมตาดูโลก ...ภารกิจหลักคงตกอยู่กับผู้ที่เป็นพ่อและแม่ บางครอบครัวโชคดีมีปู่ ย่า ตา ยาย ช่วยเลี้ยง บางครอบครัวต้องเลี้ยงดูกันเอง และที่ร้ายไปกว่านั้น พ่อ แม่ บางคนต้องรับหน้าที่เป็นทั้งพ่อและแม่ในเวลาเดียวกัน

“ลูกใคร ใครก็รัก” แต่บางครั้งบางคราว ผสมกับความเป็นมือใหม่ของบางครอบครัว ทำให้เกิดอันตรายขึ้นกับลูกรักได้ เด็กหลายคนโชคยังดีที่ช่วยเหลือไว้ได้ทัน ในขณะที่เด็กอีกจำนวนไม่น้อย ต้องจบชีวิตลงเพราะความพลั้งเผลอ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในเวลาเพียงไม่กี่เสี้ยววินาที!!

ความปลอดภัย เป็นเรื่องที่ทุกบ้านที่มีเด็กอ่อน พึงให้ความสำคัญ ลักขณา สุมงคล หัวหน้าแผนกเนอร์สเซอรี่ โรงพยาบาล บี เอ็น เอช ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า อันตรายที่เกิดขึ้นกับทารก สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา และบางครั้ง เป็นสิ่งที่เราไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น พ่อ แม่ ผู้ที่ทำหน้าที่เลี้ยงทารก จึงต้องมีความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับอันตรายใกล้ตัวที่คาดไม่ถึง เพื่อความปลอดภัยสูงสุดสำหรับลูกน้อย

ทารกในช่วงแรกเกิด สิ่งที่ควรระวัง คือ เรื่องของทางเดินหายใจ เพราะการเตรียมที่นอน ที่ไม่ถูกต้อง มีความนิ่มมากจนเกินไป รวมทั้งการจัดท่านอนให้ทารก ที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้หน้าของทารกกดลงกับบริเวณที่นอนที่เป็นฟูกนิ่มๆ ได้ ซึ่งจะทำให้เด็กหายใจไม่ออก ในต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก

ท่านอนของเด็กควรจะเป็นท่านอนหงาย หรือท่านอนตะแคง ในส่วนที่คุณพ่อ คุณแม่ ท่านใดต้องการให้ลูกหัวสวย สามารถจัดนอนคว่ำได้แต่จะต้องเป็นที่นอนที่แข็ง ลักษณะคล้ายฟูกของคนไทยในสมัยก่อน โดยให้น้องนอนคว่ำ แต่หันหน้าไปทางใดทางหนึ่ง และหมั่นเดินมาดูลูกบ่อยๆ อย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง หรือทางที่ดีที่สุด ควรนอนด้วยกันกับลูก ควรที่จะให้ลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลา เพราะต้องคำนึงเสมอว่า เด็กยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย

ส่วนที่นอนของทารกไม่ควรเป็นเบาะหรือฟูกที่นุ่มจนเกินไป รอบข้างควรมีหมอนข้างหรือหมอนกั้นไว้ เพราะเด็กจะนอนดิ้นและขยับตัวบ่อย ถ้าต้องการให้ลูกนอนเตียงที่ด้านข้างทำเป็นลูกกรง ควรที่จะมีอุปกรณ์ป้องกันด้วยเช่นกัน อย่างเบาะ หรืออะไรที่นิ่มๆ มากั้นตลอดทั้ง 4 ด้าน เพราะเราไม่รู้ว่าเด็กจะกลิ้งไปทางใด ไม่ใช่มาดูอีกที ลูกหัวลอดจากลูกกรงมาอยู่ข้างนอกเสียแล้ว เคยมีกรณีที่เด็กนอนเตียงในลักษณะเช่นนี้ แต่ไม่มีอะไรกั้น คิดว่าลูกกรงที่กั้นก็เพียงพอแล้ว ปรากฏว่า เมื่อกลับมาดูลูกแทบเป็นลม เพราะหัวเด็กไปเกี่ยวกับลูกกรงเตียง แต่ตัวห้อยลงไปอยู่ด้านล่าง ทำให้เด็กขาดอากาศหายใจไปชั่วขณะหนึ่ง พ่อ แม่ ตกใจจึงรีบพามาโรงพยาบาล ตรงนี้จึงต้องระวังด้วย

“แต่ถ้าให้เด็กนอนพื้น ควรจะเป็นเบาะและมีหมอนกั้นอาณาเขตเอาไว้รอบๆ ตัวน้อง ไม่ควรให้ลูกนอนในที่สูงเกินคืบหนึ่ง โดยที่ไม่มีอะไรปิดกั้นรอบข้าง ยิ่งถ้าเด็กเริ่มพลิกตัว เริ่มเคลื่อนไหวได้แล้ว ควรให้นอนพื้นจะเป็นการดีที่สุด และเป็นการป้องกันถ้าคุณแม่เผลอหลับไปกับลูก เพราะไม่รู้ว่าน้องจะทำอะไร เมื่อเขาตื่นขึ้นมาก่อน เมื่อลูกนอนพื้นสิ่งที่สำคัญ คือ เรื่องความสะอาด ต้องหมั่นทำความสะอาดบริเวณที่ลูกนอน เพราะอาจมีมดหรือแมลงมากัดลูกได้”

ในส่วนของอาหาร สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความสะอาด การเตรียมอาหารให้ลูกทุกครั้งต้องล้างมือก่อน เพราะการล้างมือเป็นการป้องกันการติดเชื้อได้ดีวิธีหนึ่ง และควรจะแยกภาชนะไว้สำหรับลูกโดยเฉพาะ รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองและเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้ได้ เนื่องจากเด็ก ยังมีภูมิคุ้มกันต่ำ การป้อนอาหารนั้น ควรให้เด็กอยู่ในลักษณะที่หัวสูงกว่าตัวเสมอ ในท่ากึ่งนั่ง เพราะการกลืนกินอาหารของเด็กยังทำได้ไม่ดี มีโอกาสที่จะสำลักได้ง่ายมาก การวางช้อนให้น้องอ้าปากแตะที่ปลายลิ้น จากนั้นค่อยๆ กระดกช้อนขึ้น ส่วนปริมาณในการป้อนแต่ละครั้ง จะต้องป้อนครั้งละน้อยๆ เพียงปลายช้อน เพราะเด็กเล็กการเริ่มทานอาหารใหม่ๆ สำหรับเขา แค่ช้อนโต๊ะเดียวก็เพียงพอแล้วในแต่ละมื้อ นอกจากนี้ในส่วนของผลไม้ที่มีเมล็ด หากอยากให้ลูกที่พอรับประทานได้ลองลิ้มรส ก็ควรแกะและป้อนคำเล็กๆ ไม่ควรให้ลูกรับประทานเพียงลำพัง เพราะอาจทำให้เมล็ดหลุดลื่นลงคอ หรือไปติดที่หลอดลมได้

“เสื้อผ้าเด็กในส่วนของตะเข็บก็มีความสำคัญเช่นกัน เด็กบางคนอาจจะโดนด้ายเย็บตามตะเข็บบาดเอาได้ หรือทำให้ผิวหนังระคายเคือง แม่บางคนไม่รู้จะทำอย่างไร ลูกร้องไห้ไม่หยุด ค้นดูตามเนื้อตัวลูก ถึงได้รู้ว่าด้ายที่เย็บบาดลูก ฉะนั้นเวลาจะซื้อเสื้อผ้า ให้ดูตะเข็บด้านในด้วยว่า เย็บเก็บเรียบร้อยดีหรือไม่”

การอาบน้ำ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่เด็กอาจจะได้รับอันตรายได้ หลักการที่ทำให้เด็กปลอดภัย คือ จับเด็กให้มั่น เพราะคุณแม่มือใหม่จะรู้สึกตื่นเต้น ไม่กล้าจับลูกแรง กลัวลูกเจ็บ เพราะน้องตัวจะนิ่มไปหมด ยิ่งลูกโดนน้ำแล้วร้องยิ่งกังวล มือสั่นไปกันใหญ่ ทั้งที่จริงๆ แล้วเด็กเมื่อโดนน้ำ อาบน้ำแรกๆ จะร้องทุกราย

ฉะนั้น หลักการที่ถูกต้อง คือจับที่บริเวณไหล่ลูก ในลักษณะโอบไหล่ แล้วน้ำหนักของลูกถ่ายมาที่บริเวณข้อมือของแม่ หัวเด็กจะพิงมาที่ข้อศอกของแม่พอดี จับไหล่ลูกให้แน่น เพราะถ้าหลุดเด็กจะหลุดมือทันที

สำหรับสิ่งแวดล้อม ถ้าเป็นไปได้ควรจัดพื้นที่ไว้สำหรับน้อง และที่มองข้ามไม่ได้เลย คือ เรื่องของสารเคมี บางครั้งแม่อาจหยิบผิดได้ เพราะขวดคล้ายกัน สีเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน อย่างหยิบน้ำยาขัดพื้น คิดว่าเป็นน้ำยาซักผ้าน้อง ตรงนี้อาจทำให้เด็กได้รับอันตรายจากเคมีนั้นได้ จึงควรแยกที่เก็บให้ห่างจากกันและสังเกตได้อย่างชัดเจน

รวมทั้งควรเก็บสารเคมีต่างๆ ออกจากพื้นที่ของลูก เพื่อกันตัวเองหยิบใช้ผิด อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้เด็กคลานไปหยิบเล่น หรือเปิดออกมาดื่มกินได้ จึงควรเก็บไว้ในที่มิดชิดและเด็กเอื้อมไม่ถึงเปิดไม่ได้

รวมไปถึงยาและเวชภัณฑ์ ควรจัดเก็บให้ห่างจากลูกให้มากที่สุด เพราะเด็กอาจจะหยิบมาใส่ปากเล่น และอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

นอกจากนั้น สิ่งแวดล้อมที่ลูกอยู่ ถ้ามีปลั๊กไฟ ให้หาอะไรมาปิดรูปลั๊กไฟ เพื่อกันไม่ให้ลูกเอามือไปแหย่เล่น ถ้าเขาอยู่ในวัยที่เริ่มคลานแล้ว ยิ่งต้องระวังให้มากขึ้น

ตลอดจนภาชนะและสิ่งของที่มีคม อย่างกรรไกร เข็ม ด้าย มีด หรือในส่วนของขอบโต๊ะ ขอบเตียง ซึ่งบางครั้งเราคิดไม่ถึง จึงจำเป็นต้องมีภาชนะห่อหุ้ม เมื่อลูกคลานไปโดนจะได้ไม่เกิดอันตรายได้

วัยที่อันตราย คือ วัยที่เด็กเริ่มเรียนรู้ เริ่มเคลื่อนไหว หัดคลาน เริ่มเคลื่อนที่จากที่นอนอยู่เฉย ๆ คุณพ่อ คุณแม่ต้องไม่ให้ลูกห่างสายตาเป็นอันขาด ควรอยู่กับเด็กตลอดเวลา เพราะพฤติกรรมอยากรู้อยากเห็นและในช่วงขณะที่ พ่อแม่เผลอ จะเป็นช่วงที่อันตรายกับลูกมาก ซึ่งในแต่ละครอบครัวจะมากน้อยแตกต่างกัน



ฉะนั้นการป้องกัน จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เหตุเกิด นั่นคือ อย่าปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียว หรือบางช่วงเวลาที่ปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียว สิ่งแวดล้อมตรงนั้นจะต้องปลอดภัยสำหรับเขา ไม่ว่าจะเป็นของที่เขาหยิบเข้าปาก หรือจะเป็นเรื่องไฟ รวมทั้งการตกจากที่สูง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น เพราะเด็กเขาไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำจะเกิดอะไรตามมา” ลักขณา แฝงข้อคิดทิ้งท้าย

มากกว่าความรัก คือ การเอาใจใส่ อย่าให้แก้วตาดวงใจต้องพบหรือเผชิญกับประสบการณ์อันเลวร้าย ทั้งๆ ที่คุณสามารถป้องกันให้กับเขาได้!!.



ขอขอบคุณข้อความดีๆ จาก : เดลินิวส์

การดูโทรทัศน์ในเด็กเล็กๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ?


ผลกระทบของการดูโทรทัศน์ในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ เป็นเรื่องที่เถียงกันอย่างมาก ทุกๆ ปีมีการทำสถิติเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ของเด็ก และพบว่าเด็กบางกลุ่มมีสัญญาณเตือนที่น่ากลัว

                     โดยเฉลี่ยเด็กอเมริกันดูโทรทัศน์ 4 ชม. ต่อวัน (ที่มา www.app.org) ในขณะที่ร้อยละ 20 ของเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบมีโทรทัศน์ในห้องพวกเขา ในเด็กทารกอายุ 3 เดือนลงมามีถึง 40 เปอร์เซ็นต์ที่ดูโทรทัศน์ และมีเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับเด็กอายุ 2 ขวบ (ที่มา http://seattlepi.nwsource.com/local/314676_babytube08.html) การศึกษาพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ของเด็กในปี ค.ศ. 2003 พบว่าเด็ก 6 เดือนถึง 6 ปี ใช้เวลาถึงสองชั่วโมงกับ “สื่อจอ” เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และวิดีโอเกม (ที่มา CBS News) การศึกษายังพบอีกถึงการใช้เวลาที่ใช้ดูโทรทัศน์มากขึ้นและการอ่านที่น้อยลง

                    การศึกษาพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ในเด็กเหล่านี้ทำโดยแพทย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ ได้แนะนำให้ลดการดูโทรทัศน์ลงในเด็ก วีดีโอชุดหนึ่งที่ผลิตออกมาในต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 อย่างเช่น “Baby Einstein” และ “Brainy Baby” พบว่าอาจเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของเด็ก วิดีโอเหล่านี้ซึ่งมีผลิตในรูปแบบ VHS และ DVD ในเนื้อหามีบทสนทนาเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นภาพที่ทับต่อเนื่อง และมักจะไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งยากที่จะเข้าในเนื้อเรื่อง แต่วิดีโอชุดนี้ก็เป็นที่นิยมอย่างมาก อย่างเช่นชุด “Baby Einstein” ได้รับรายได้มากกว่า 500 ล้านเหรียญ (ที่มา Boston Globe) และ Disney ได้ซื้อบริษัทนี้ในปี ค.ศ. 2001 (ที่มา Denver Post)

                    ผู้ปกครองส่วนมาก กล่าวว่าพวกเขาใช้วิดีโอเหล่านี้เป็นเหมือนพี่เลี้ยงเด็ก การเปิด DVD ชุด “Baby Einstein” ให้เด็กดูเพื่อที่จะให้คุณแม่หรือคุณพ่อสามารถทำความสะอาดบ้านหรือจัดเตรียมอาหาร หรือดูแลงานอื่นๆ ได้ แต่นักวิจัยพบปัญหาว่าวีดีโอเหล่านี้ไม่ได้เป็นประโยชน์และอาจจะเป็นอันตรายต่อพวกเด็ก ๆ ได้

                    ปัญหาไม่เพียงเฉพาะเนื้อหาวิดีโอ ที่บทสนทนาที่มีเพียงเล็กน้อยหรือภาพต่อเนื่องที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่วิดีโดชุดนี้ยังอาจมีผลถึงการพัฒนาการของสมองในเด็กทารก สมองของเด็กเป็นสิ่งสำคัญมากในเด็กก่อนอายุ 2 ขวบ ซึ่งเป็นการพัฒนาเชื่อมต่อระบบประสาทและเติบโตขนาดของสมอง จำเป็นต้องมีสิ่งเร้าในการกระตุ้นการพัฒนาการของสมอง นักวิจัยแย้งว่าวิดีโอไม่ให้สิ่งเร้านี้

การศึกษาวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร “Journal of Pefiatrics” สุมตัวอย่าง 1,000 ครอบครัว ทดสอบเด็กอายุ 8 เดือนถึง 16 เดือน สำรวจให้เด็ก 32 เปอร์เซ็นต์ดูวิดีโอ โดยเด็ก 17 เปอร์เซ็นต์ของพวกเขาดูวิดีโดอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงต่อวัน ทดสอบใช้วิดีโอชุด “Baby Einstein” ว่ามีผลต่อการพัฒนาการของพวกเขาหรือไม่ โดยเน้นไปที่คำศัพท์ โดยเฉลี่ยทุกชั่วโมงของทุกวันเด็กที่ดูวิดีโอนี้เขารู้คำศัพท์น้อยลง 6-8 คำเมื่อเทียบกับเด็กอายุเดียวกัน แต่เด็กที่มีอายุ 17 -24 เดือน เมื่อทดสอบแล้วไม่มีผลกระทบใดๆ

                    สถานบันชั่นนำ “Frederick Zimmerman” ของมหาวิทยาลัยวอชิงตันกล่าวว่า “ไม่มีหลักฐานชัดเจนถึงประโยชน์ที่มาจากดีวีดีและวิดีโอของเด็กเล็ก และมีคำแนะนำบางอย่างถึงอันตรายกับเด็กเล็ก” (ที่มา Forbes)


                    ดังนั้นเราควรห้ามให้เด็กเล็กๆ ดูโทรทัศน์หรือไม่ ? ในตอนต่อไปเราจะไปถึงนักวิจัยคนอื่นพูดถึงการดูโทรทัศน์ในเด็กเล็ก และผู้เชี่ยวชาญแนะนำการดูโทรทัศน์ในเด็กเล็ก

การดูแลรักษาเสื้อผ้าเด็กอ่อน


การดูแลรักษาเสื้อผ้าเด็กอ่อน
ปกป้องรักษาอาการแพ้เสื้อผ้าที่สวมใส่ โดยการคัดเสื้อผ้าที่เหมาะสม

           เสื้อผ้าเด็ก เด็กทารก มักมีปัญหาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งโดยมากมาจากผง หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่ไม่สะอาด หรือมีสารเคมีแอบแฝงอยู่ โดยสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยคือเสื้อผ้าของลูกนี่เองค่ะ          

       เลือกคัดซื้อ เสื้อผ้าเด็ก จากเส้นใยธรรมชาติ โดยอย่างยิ่งผ้าฝ้ายจากเส้นใยธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ไม่มีการย้อมด้วยสารเคมี น้ำหอม หรือสาร formaldehyde resins อีกทั้งเนื้อผ้าเองก็มีความโปร่งสบายสามารถระบายอากาศได้ง่าย แม้ว่าจะมีมูลค่าแพงอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า          
         เนื่องด้วยผ้าฝ้ายจากเส้นใยธรรมชาติเหล่านี้มีความทนต่อการซักรีดสูง นอกจากจะใช้งานได้นานแล้วเจ้าตัวเล็กก็จะได้ไม่ต้องทรมานจากอาการระคายเคือง และตุ่มเล็กๆคัน        
        ซัก เสื้อผ้าเด็ก ให้ถูกวิถีทาง เนื่องด้วยว่าความสะอาดของ เสื้อผ้าเด็ก เป็นปัจจัยสำคัญ หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลไม่ทั่วถึงก็อาจมีผลให้ลูกเกิดอาการแพ้เสื้อผ้าได้

ฉะนั้นหลังซื้อเสื้อผ้ามาแล้ว ควรซักก่อนให้ลูกใส่ค่ะ เนื่องด้วยแม้จะเป็นเสื้อผ้าเด็กชุดใหม่ แต่ก็อาจมีเศษฝุ่นหรือสารตกค้างที่มาจากกรรมวิธีการผลิต รวมถึงการสัมผัสระหว่างการผลิตก่อนหน้านี้ด้วย          
          ในการซักเสื้อผ้าเด็ก ไม่ควรใช้ผงซักฟอก เนื่องด้วยระดับความร้ายแรงของสารซักล้างของผู้ใหญ่อาจไม่เหมาะสมกับสภาพผิว ของลูก จึงควรเลือกคัดผลิตภัณฑ์สำหรับลูกโดยเฉพาะ เมื่อใดก็ตามที่เด็ก ๆ มีอาการคันเนื่องแต่การแพ้เสื้อผ้า เราไม่สามารถสั่งหรือดูแลไม่ให้เขาเกาตุ่มหรือเกาตรงบริเวณที่คันได้ ซึ่งอาจจะเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อที่ผิวหนังในเวลาต่อมา ฉะนั้นป้องกันก่อนที่จะสายย่อมดีกว่าแน่นอน

ขอบคุณข้อความดีๆ จาก http://www.select2baby.com/article

ท้องใหญ่ ท้องเล็ก มีผลต่อเด็กหรือไม่

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ท้องใหญ่ ท้องเล็ก มีผลต่อเด็กหรือไม่


มีลูกแล้ว 2 คนค่ะ ช่วยนี้อยากพักก่อน เลยทานยาคุมช่วย ทานมาได้ 4 เดือนแล้ว แต่สงสัยว่าทำไมทานแล้วถึงดูอ้วนขึ้น น้ำหนักขึ้นมาเกือบ 4 กิโล และรู้สึกว่าอยากอาหารมากขึ้น ไม่รู้เกี่ยวกันหรือเปล่า อีกอย่าง ตอนกลางคืนก็มักเจ็บหน้าอก และมีฝ้าขึ้นที่หน้า แต่ก่อนไม่เคยเป็น พอหยุดยาก็หาย ขอคำตอบจากคุณหมอด้วยค่ะ
“ทานยาคุมแล้วทำให้รูปร่างเปลี่ยนนั้น น่าจะเกิดจากผลข้างเคียงของฮอร์โมนครับ ทำให้ผู้ทานเจริญอาหารมากกว่าเดิม พอทานเยอะก็น้ำหนักขึ้น อ้วนง่าย ส่วนที่รู้จักเจ็บเต้านม อาจเกิดจากการคั่งของน้ำในร่างกายที่มากขึ้น ทำให้หน้าอกของผู้ทานขยายใหญ่ เกิดการตึงบริเวณนม จนรู้สึกเจ็บ

…สำหรับเรื่องฝ้าที่หน้า ถึงแม้อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็คงเป็นส่วนน้อยครับ ไม่น่าจะใช่สาเหตุหลัก

อาจเกิดจากที่ผู้ทานออกไปตากแดดเป็นเวลานาน การทาครีมป้องกันก็จะช่วยได้ครับ”

จำเป็นหรือไม่คะ ที่จะต้องทานอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์ เห็นหลายคนแนะนำให้ทาน แต่ปกติเป็นคนทานเยอะอยู่แล้ว คิดว่าเพียงพออยู่แล้ว อย่างไรก็แนะนำด้วยค่ะ

“อาหารเสริมไม่ได้ช่วยให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรงหรือมีพัฒนการที่ดีขึ้นอย่างที่คุณแม่เข้าใจครับ แต่การทานอาหารเสริมในคุณแม่ตั้งครรภ์ ทานเพื่อเสริมสร้างสารอาหารบางอย่างที่แม่ตั้งครรภ์ขาดไปครับ ช่วยให้แม่ตั้งครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น เพราะในแม่ตั้งครรภ์หลายคน ก็มีโอกาสที่จะเกิดสารอาหารบกพร่อง หมอจึงแนะนำให้ทานอาหารเสริมเพิ่ม

…สำหรับสารอาหารที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ หลักๆ ก็คือ โปรตีน วิตามิน แคลเซียม ส่วนวิตามิน เราจะครอบคลุมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี วิตามินซี เอ ดี อี เค รวมทั้งโฟลิก ซึ่งปกติสารอาหารเหล่านี้ก็จะมีอยู่ในอาหารอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในนม ถ้าเป็นนมปกติ ไม่ใช่นมพร่องมันเนย ก็มีวิตามิน เอ ดี อี เค ซึ่งเป็นวิตามินหลักที่ละลายในไขมัน ถ้าคุณแม่ทานโดยที่ไม่ใช่นมพร่องมันเนย ก็จะได้สารอาหารครบถ้วนอยู่แล้ว ไม่ได้ขาดอะไรครับ”

ปกติแล้วเราสังเกตพัฒนาการของทารกในครรภ์จากการดูท้องว่าเล็กหรือใหญ่ได้ไหมคะ รู้สึกว่าตัวเองท้องเล็กกว่าเกณฑ์ ทั้งที่ตอนนี้ลูกอายุ 4 เดือนแล้ว

“คุณหมอจะวัดดูจากขนาดของทารกครับ ว่าในแต่ละอายุครรภ์มีการเจริญเติบโตมากน้อยเพียงไร ทารกมีน้ำหนักอยู่ในมาตรฐานหรือไม่ โดยจะมีกราฟของทารกที่อยู่ในครรภ์ ว่าแต่ละอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ 24 สัปดาห์ 30 สัปดาห์ มีเกณฑ์มาตรฐานเท่าไหร่ ซึ่งถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราวัดแล้ว ทารกมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ก็ถือว่าทารกมีความปกติดีครับ แต่ถ้าพบว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จึงค่อยให้ค่อยการดูแลเพิ่มเติม ตามความเหมาะสมครับ”

ไปตรวจเมื่อเดือนก่อน ทราบจากคุณหมอว่ามีรกเกาะอยู่ทางด้านหน้าของมดลูก ก็ดูแลเป็นพิเศษ กังวลมาก รู้สึกตลอดเหมือนลูกไม่ค่อยดิ้น คิดไปเองหรือเปล่าไม่ทราบ อยากรู้วิธีสังเกตค่ะ

“คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงความเคลื่อนไหวในท้องครับ ซึ่งลักษณะการเคลื่อนไหวแรก ๆ จะเป็นการกระเพื่อมผ่านทางน้ำคร่ำ ซึ่งหากรกของคุณแม่เกิดมาเกาะทางด้านหน้า อาจทำให้คุณแม่รู้สึกว่าทารกดิ้นช้าลง ซึ่งลักษณะการดิ้นในช่วงไตรมาส 2 ก็จะคล้ายในไตรมาสแรก อาจรู้สึกว่ากระเพื่อมมากกว่าเดิมเล็กน้อย อย่างไรก็โ ถ้าคุณแม่รู้สึกว่าทารกดิ้นน้อยกว่าปกติ หรือไม่ดิ้นเลย โดยเฉพาะผ่านไปวัน สองวันแล้ว ไม่ดิ้นเลย ควรรีบมาพบแพทย์โดยทันทีครับ” เสื้อผ้าเด็ก

ขอขอบคุณ โรงพยาบาลกรุงธน 1
โทร. 0-2438-0040-5

การเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัย


การเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัย

การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย พ่อแม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเลือกของเล่นที่ยากเกินไปสำหรับเด็ก เด็กที่เริ่มหัดเล่น พบว่าของเล่นที่ยากเกินความสามารถของเด็กจะทำให้ความตื่นเต้นในของเล่นใหม่ลดลง และเด็กจะให้ความสนใจน้อยมาก นอกจากนี้ความชอบของเด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันด้วย
เด็กมักชอบของเล่นที่ใช้ถือหรือกด ซึ่งมีทั้งยากและง่าย ฉะนั้นการเลือกจึงควรเริ่มต้นจากของเล่นที่ง่ายก่อนแล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นยากขึ้นตามลำดับ เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความรู้สึกขาดความมั่นใจ ดีที่สุดควรเลือกของเล่นที่ต่ำกว่าอายุเล็กน้อย
สำหรับเด็กที่ขาดประสบการณ์ในการเล่น นอกจากไม่สามารถเล่นได้เท่ากับระดับอายุของเขาแล้ว เด็กยังต้องการคำแนะนำจากผู้ใหญ่อีกด้วย ตัวอย่างเช่น เด็กอายุ 8 ปี ที่มีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ได้เทียบเท่าเด็กอายุ 3 ขวบ ของเล่นสำหรับเขาก็ไม่ควรสูงเกินระดับอายุ 3 ขวบ เช่นกัน

ประเภทของของเล่นสำหรับเด็ก
1.ของเล่นประเภทที่เด็กชอบ
2.ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยตามพัฒนาการของเด็ก


1. ของเล่นประเภทที่เด็กชอบ
ของเล่นที่ทำให้เด็กพอใจ คือ ของเล่นที่เด็กสามารถเล่นได้ด้วยตัวเอง ในกรณีที่เด็กไม่สามารถบอกได้ว่าชอบแบบไหน ผู้ใหญ่ควรจะทราบเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กชอบในชีวิตประจำวันเสียก่อน แล้วจึงค่อยดึงเอาของเล่นของเล่นรวมเข้าไปด้วย เช่น ถ้าเด็กชอบเสียง ก็ควรเลือกของเล่นประเภทที่มีเสียง เช่น เสียงร้องสัตว์ พวกลากจูงของประเภทที่ใช้ฆ้อนตอกลงไปในรู กล่องที่มีช่องคล้ายตู้ไปรษณีย์เมื่อหย่อนของเล่นลงไปจะทำให้เกิดเสียง ปัจจุบันมีของเล่นที่มีประโยชน์มากมายซึ่งช่วยให้เด็กได้ระบายอารมณ์ เช่น กดปุ่มแล้วมีหน้าสัตว์ยื่นออกมา ดันสวิทซ์แล้วทำให้เกิดเสียงดนตรี เคาะปุ่มแล้วมีรูปภาพปรากฏขึ้น เราสามารถเลือกของเล่นตามความชอบของเด็ก ซึ่งนอกจากเป็นการให้รางวัลกับเด็กแล้วยังสามารถทำให้เด็กมีความสนใจในของเล่นที่ยาวนานอีกด้วย นั่นหมายความว่าเราประสบความสำเร็จในการเลือกของเล่นที่ดีที่สุดให้กับลูกและเสื้อผ้าเด็กอ่อน

2. ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยตามพัฒนาการของเด็ก
           อายุ 0-6 เดือนของเล่นประเภทที่เด็กสามารถไขว่คว้าได้ พวกโมบาย กระดิ่ง กระจก ของเล่นที่เกี่ยวกับการมอง การถือ ประเภทที่เกี่ยวข้องกับปาก พวกดูด กัด ที่เด็กสามารถเอาเข้าปากได้
       เด็กอายุ 6- 12 เดือนของเล่นที่ใช้บีบ เพื่อให้เกิดเสียง ระฆัง สำหรับจับเขย่าของเล่นที่ใช้สำหรับลากดึง แท่งไม้ใหญ่ๆ สำหรับต่อเป็นรูปตึกเอามาเรียงตามแนวตั้งและแนวนอน
           เด็กอายุ 12-18 เดือนของเล่นประเภทให้เด็กตอก ดินสอเทียนสำหรับขีดเขียน แต่ไม่ใช่สำหรับการวาดรูป ลูกบอล ฆ้อน ของที่ใช้เสียบใส่ตามช่อง ทราย น้ำ สำหรับให้เด็กเล่น สมุดภาพสำหรับให้เด็กดู
           เด็กอายุ 18 เดือน - 2 ขวบกล่องที่มีช่อง 3-4 ช่อง สำหรับใส่แท่งพลาสติกทีมีรูปทรงต่างๆ ฆ้อนตอก หรือที่ใช้กด ห่วงกลมที่มีราวให้สามารถเลื่อนไปมาได้ ดินสอเทียน สำหรับให้เด็กเริ่มต้นเลียนแบบเส้นตรง สมุดภาพสัตว์ สิ่งของเครื่องใช้ เพื่อให้เด็กรู้จักสามารถเรียกชื่อได้ รถยนต์ ตุ๊กตา ของเล่นนุ่มๆ แท่งไม้ชิ้นเล็กๆ สำหรับต่อบ้าน
           เด็กอายุ 2-3 ขวบกล่องที่มีช่องหลายช่องสำหรับใส่รูปทรงต่างๆ ที่ตัดกระดาษ ก้อนไม้สีต่างๆ สำหรับจับคู่สี ของเล่นที่ใช่สร้างบ้าน ดินสอเทียน ดินสอสีไว้ระบายสมุดภาพ ลูกปัดโตๆ สำหรับให้เด็กร้อย
           เด็กอายุ 3- 4 ขวบภาพง่ายๆ 6 ชิ้นขึ้นไปเพื่อให้เด็กต่อ แท่งรูปทรงต่างๆ ที่ยากขึ้นสำหรับให้เด็กหยิบใสตรงช่อง รูปภาพสัตว์ สิ่งของง่ายๆ ให้เด็กจับคู่ ของเล่นที่ใช้ต่อประดิษฐ์สิ่งก่อสร้าง บ้านตุ๊กตา ที่ตัดกระดาษ กรรไกร
           พ่อแม่ส่วนใหญ่ต้องการให้ลูกอยู่กับตัวเองตามลำพังในช่วงสั้นๆได้บ้าง เด็กที่เป็นลูกคนเดียวมักเคยชินกับการอยู่กับผู้ใหญ่ ทำให้ไม่สามารถแยกอยู่ตามลำพังคนเดียวได้ แต่บางคนก็เคยชินต่อการอยู่ตามลำพังคนเดียว จนไม่ยอมรับที่จะสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทำให้ขาดประสบการณ์ในการเล่น ไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมได้ ดังนั้นผู้ใหญ่จึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยการสอนให้เด็กรู้จักเล่น เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตเหมือนเด็กคนอื่นๆ เป็นการป้องกันปัญหาการปรับตัวที่อาจตามมาเมื่อเด็กเติบโตขึ้น

หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่31 มีนาคม 2546

การเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัย

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย พ่อแม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเลือกของเล่นที่ยากเกินไปสำหรับเด็ก เด็กที่เริ่มหัดเล่น พบว่าของเล่นที่ยากเกินความสามารถของเด็กจะทำให้ความตื่นเต้นในของเล่นใหม่ลดลง และเด็กจะให้ความสนใจน้อยมาก นอกจากนี้ความชอบของเด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันด้วย
เด็กมักชอบของเล่นที่ใช้ถือหรือกด ซึ่งมีทั้งยากและง่าย ฉะนั้นการเลือกจึงควรเริ่มต้นจากของเล่นที่ง่ายก่อนแล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นยากขึ้นตามลำดับ เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความรู้สึกขาดความมั่นใจ ดีที่สุดควรเลือกของเล่นที่ต่ำกว่าอายุเล็กน้อย
สำหรับเด็กที่ขาดประสบการณ์ในการเล่น นอกจากไม่สามารถเล่นได้เท่ากับระดับอายุของเขาแล้ว เด็กยังต้องการคำแนะนำจากผู้ใหญ่อีกด้วย ตัวอย่างเช่น เด็กอายุ 8 ปี ที่มีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ได้เทียบเท่าเด็กอายุ 3 ขวบ ของเล่นสำหรับเขาก็ไม่ควรสูงเกินระดับอายุ 3 ขวบ เช่นกัน
ประเภทของของเล่นสำหรับเด็ก1.ของเล่นประเภทที่เด็กชอบ
2.ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยตามพัฒนาการของเด็ก
1. ของเล่นประเภทที่เด็กชอบ
ของเล่นที่ทำให้เด็กพอใจ คือ ของเล่นที่เด็กสามารถเล่นได้ด้วยตัวเอง ในกรณีที่เด็กไม่สามารถบอกได้ว่าชอบแบบไหน ผู้ใหญ่ควรจะทราบเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กชอบในชีวิตประจำวันเสียก่อน แล้วจึงค่อยดึงเอาของเล่นของเล่นรวมเข้าไปด้วย เช่น ถ้าเด็กชอบเสียง ก็ควรเลือกของเล่นประเภทที่มีเสียง เช่น เสียงร้องสัตว์ พวกลากจูงของประเภทที่ใช้ฆ้อนตอกลงไปในรู กล่องที่มีช่องคล้ายตู้ไปรษณีย์เมื่อหย่อนของเล่นลงไปจะทำให้เกิดเสียง ปัจจุบันมีของเล่นที่มีประโยชน์มากมายซึ่งช่วยให้เด็กได้ระบายอารมณ์ เช่น กดปุ่มแล้วมีหน้าสัตว์ยื่นออกมา ดันสวิทซ์แล้วทำให้เกิดเสียงดนตรี เคาะปุ่มแล้วมีรูปภาพปรากฏขึ้น เราสามารถเลือกของเล่นตามความชอบของเด็ก ซึ่งนอกจากเป็นการให้รางวัลกับเด็กแล้วยังสามารถทำให้เด็กมีความสนใจในของเล่นที่ยาวนานอีกด้วย นั่นหมายความว่าเราประสบความสำเร็จในการเลือกของเล่นที่ดีที่สุดให้กับลูกและเสื้อผ้าเด็กอ่อน
2. ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยตามพัฒนาการของเด็ก
อายุ 0-6 เดือนของเล่นประเภทที่เด็กสามารถไขว่คว้าได้ พวกโมบาย กระดิ่ง กระจก ของเล่นที่เกี่ยวกับการมอง การถือ ประเภทที่เกี่ยวข้องกับปาก พวกดูด กัด ที่เด็กสามารถเอาเข้าปากได้
เด็กอายุ 6- 12 เดือนของเล่นที่ใช้บีบ เพื่อให้เกิดเสียง ระฆัง สำหรับจับเขย่าของเล่นที่ใช้สำหรับลากดึง แท่งไม้ใหญ่ๆ สำหรับต่อเป็นรูปตึกเอามาเรียงตามแนวตั้งและแนวนอน
เด็กอายุ 12-18 เดือนของเล่นประเภทให้เด็กตอก ดินสอเทียนสำหรับขีดเขียน แต่ไม่ใช่สำหรับการวาดรูป ลูกบอล ฆ้อน ของที่ใช้เสียบใส่ตามช่อง ทราย น้ำ สำหรับให้เด็กเล่น สมุดภาพสำหรับให้เด็กดู
เด็กอายุ 18 เดือน - 2 ขวบกล่องที่มีช่อง 3-4 ช่อง สำหรับใส่แท่งพลาสติกทีมีรูปทรงต่างๆ ฆ้อนตอก หรือที่ใช้กด ห่วงกลมที่มีราวให้สามารถเลื่อนไปมาได้ ดินสอเทียน สำหรับให้เด็กเริ่มต้นเลียนแบบเส้นตรง สมุดภาพสัตว์ สิ่งของเครื่องใช้ เพื่อให้เด็กรู้จักสามารถเรียกชื่อได้ รถยนต์ ตุ๊กตา ของเล่นนุ่มๆ แท่งไม้ชิ้นเล็กๆ สำหรับต่อบ้าน  
เด็กอายุ 2-3 ขวบกล่องที่มีช่องหลายช่องสำหรับใส่รูปทรงต่างๆ ที่ตัดกระดาษ ก้อนไม้สีต่างๆ สำหรับจับคู่สี ของเล่นที่ใช่สร้างบ้าน ดินสอเทียน ดินสอสีไว้ระบายสมุดภาพ ลูกปัดโตๆ สำหรับให้เด็กร้อย
เด็กอายุ 3- 4 ขวบภาพง่ายๆ 6 ชิ้นขึ้นไปเพื่อให้เด็กต่อ แท่งรูปทรงต่างๆ ที่ยากขึ้นสำหรับให้เด็กหยิบใสตรงช่อง รูปภาพสัตว์ สิ่งของง่ายๆ ให้เด็กจับคู่ ของเล่นที่ใช้ต่อประดิษฐ์สิ่งก่อสร้าง บ้านตุ๊กตา ที่ตัดกระดาษ กรรไกร
พ่อแม่ส่วนใหญ่ต้องการให้ลูกอยู่กับตัวเองตามลำพังในช่วงสั้นๆได้บ้าง เด็กที่เป็นลูกคนเดียวมักเคยชินกับการอยู่กับผู้ใหญ่ ทำให้ไม่สามารถแยกอยู่ตามลำพังคนเดียวได้ แต่บางคนก็เคยชินต่อการอยู่ตามลำพังคนเดียว จนไม่ยอมรับที่จะสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทำให้ขาดประสบการณ์ในการเล่น ไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมได้ ดังนั้นผู้ใหญ่จึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยการสอนให้เด็กรู้จักเล่น เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตเหมือนเด็กคนอื่นๆ เป็นการป้องกันปัญหาการปรับตัวที่อาจตามมาเมื่อเด็กเติบโตขึ้น

หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่31 มีนาคม 2546
 

Most Reading