ads 728x90

ท้องใหญ่ ท้องเล็ก มีผลต่อเด็กหรือไม่

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556


มีลูกแล้ว 2 คนค่ะ ช่วยนี้อยากพักก่อน เลยทานยาคุมช่วย ทานมาได้ 4 เดือนแล้ว แต่สงสัยว่าทำไมทานแล้วถึงดูอ้วนขึ้น น้ำหนักขึ้นมาเกือบ 4 กิโล และรู้สึกว่าอยากอาหารมากขึ้น ไม่รู้เกี่ยวกันหรือเปล่า อีกอย่าง ตอนกลางคืนก็มักเจ็บหน้าอก และมีฝ้าขึ้นที่หน้า แต่ก่อนไม่เคยเป็น พอหยุดยาก็หาย ขอคำตอบจากคุณหมอด้วยค่ะ
“ทานยาคุมแล้วทำให้รูปร่างเปลี่ยนนั้น น่าจะเกิดจากผลข้างเคียงของฮอร์โมนครับ ทำให้ผู้ทานเจริญอาหารมากกว่าเดิม พอทานเยอะก็น้ำหนักขึ้น อ้วนง่าย ส่วนที่รู้จักเจ็บเต้านม อาจเกิดจากการคั่งของน้ำในร่างกายที่มากขึ้น ทำให้หน้าอกของผู้ทานขยายใหญ่ เกิดการตึงบริเวณนม จนรู้สึกเจ็บ

…สำหรับเรื่องฝ้าที่หน้า ถึงแม้อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็คงเป็นส่วนน้อยครับ ไม่น่าจะใช่สาเหตุหลัก

อาจเกิดจากที่ผู้ทานออกไปตากแดดเป็นเวลานาน การทาครีมป้องกันก็จะช่วยได้ครับ”

จำเป็นหรือไม่คะ ที่จะต้องทานอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์ เห็นหลายคนแนะนำให้ทาน แต่ปกติเป็นคนทานเยอะอยู่แล้ว คิดว่าเพียงพออยู่แล้ว อย่างไรก็แนะนำด้วยค่ะ

“อาหารเสริมไม่ได้ช่วยให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรงหรือมีพัฒนการที่ดีขึ้นอย่างที่คุณแม่เข้าใจครับ แต่การทานอาหารเสริมในคุณแม่ตั้งครรภ์ ทานเพื่อเสริมสร้างสารอาหารบางอย่างที่แม่ตั้งครรภ์ขาดไปครับ ช่วยให้แม่ตั้งครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น เพราะในแม่ตั้งครรภ์หลายคน ก็มีโอกาสที่จะเกิดสารอาหารบกพร่อง หมอจึงแนะนำให้ทานอาหารเสริมเพิ่ม

…สำหรับสารอาหารที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ หลักๆ ก็คือ โปรตีน วิตามิน แคลเซียม ส่วนวิตามิน เราจะครอบคลุมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี วิตามินซี เอ ดี อี เค รวมทั้งโฟลิก ซึ่งปกติสารอาหารเหล่านี้ก็จะมีอยู่ในอาหารอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในนม ถ้าเป็นนมปกติ ไม่ใช่นมพร่องมันเนย ก็มีวิตามิน เอ ดี อี เค ซึ่งเป็นวิตามินหลักที่ละลายในไขมัน ถ้าคุณแม่ทานโดยที่ไม่ใช่นมพร่องมันเนย ก็จะได้สารอาหารครบถ้วนอยู่แล้ว ไม่ได้ขาดอะไรครับ”

ปกติแล้วเราสังเกตพัฒนาการของทารกในครรภ์จากการดูท้องว่าเล็กหรือใหญ่ได้ไหมคะ รู้สึกว่าตัวเองท้องเล็กกว่าเกณฑ์ ทั้งที่ตอนนี้ลูกอายุ 4 เดือนแล้ว

“คุณหมอจะวัดดูจากขนาดของทารกครับ ว่าในแต่ละอายุครรภ์มีการเจริญเติบโตมากน้อยเพียงไร ทารกมีน้ำหนักอยู่ในมาตรฐานหรือไม่ โดยจะมีกราฟของทารกที่อยู่ในครรภ์ ว่าแต่ละอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ 24 สัปดาห์ 30 สัปดาห์ มีเกณฑ์มาตรฐานเท่าไหร่ ซึ่งถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราวัดแล้ว ทารกมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ก็ถือว่าทารกมีความปกติดีครับ แต่ถ้าพบว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จึงค่อยให้ค่อยการดูแลเพิ่มเติม ตามความเหมาะสมครับ”

ไปตรวจเมื่อเดือนก่อน ทราบจากคุณหมอว่ามีรกเกาะอยู่ทางด้านหน้าของมดลูก ก็ดูแลเป็นพิเศษ กังวลมาก รู้สึกตลอดเหมือนลูกไม่ค่อยดิ้น คิดไปเองหรือเปล่าไม่ทราบ อยากรู้วิธีสังเกตค่ะ

“คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงความเคลื่อนไหวในท้องครับ ซึ่งลักษณะการเคลื่อนไหวแรก ๆ จะเป็นการกระเพื่อมผ่านทางน้ำคร่ำ ซึ่งหากรกของคุณแม่เกิดมาเกาะทางด้านหน้า อาจทำให้คุณแม่รู้สึกว่าทารกดิ้นช้าลง ซึ่งลักษณะการดิ้นในช่วงไตรมาส 2 ก็จะคล้ายในไตรมาสแรก อาจรู้สึกว่ากระเพื่อมมากกว่าเดิมเล็กน้อย อย่างไรก็โ ถ้าคุณแม่รู้สึกว่าทารกดิ้นน้อยกว่าปกติ หรือไม่ดิ้นเลย โดยเฉพาะผ่านไปวัน สองวันแล้ว ไม่ดิ้นเลย ควรรีบมาพบแพทย์โดยทันทีครับ”

ขอขอบคุณ โรงพยาบาลกรุงธน 1
โทร. 0-2438-0040-5

ทำอย่างไร? เมื่อลูกซนเป็นโรค "สมาธิสั้น"


           ความซนกับเด็กๆ มักเป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร ดังคำกล่าวที่ว่า เด็กซนคือเด็กฉลาด แต่ถ้าลูกรักของคุณมีอาการอยู่ไม่สุข อยู่ไม่นิ่ง สมาธิให้จดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ หรือซนมากผิดปกติจนกลายเป็นปัญหาคับอกคับใจให้คุณพ่อคุณแม่ต้องนั่งกลุ้มว่าลูกฉันเป็นลิงกลับชาติมาเกิดหรืออย่างไร


ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จึงขอมาไขปัญหาน่าปวดหัวของคนเป็นพ่อแม่ให้ฟังกัน

          โรคซนสมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) นั้นเป็นปัญหาที่พบบ่อยในช่วงวัยเด็ก (ร้อยละ 5-15 ในเด็กวัยเรียน) ต่อเนื่องจนถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเด็กจะแสดงอาการ คือ ไม่สามารถจดจ่อหรือมีสมาธิในสิ่งที่ทำ (ไม่รวมถึงการเล่นเกม หรือดูทีวี) มีความยากลำบากในการควบคุมพฤติกรรมหรือหุนหันพลันแล่น และซนอยู่ไม่สุข ซึ่งอาการอาจรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทั้งพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น เด็กบางคนอาจซน อยู่ไม่นิ่ง และไม่สามารถควบคุมตนเองเป็นอาการหลัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย หรือบางคนอาจมีอาการสมาธิสั้นเป็นปัญหาหลัก พบได้บ่อยทั้งในเด็กผู้หญิง และเด็กผู้ชาย โรคซนสมาธิสั้นพบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าประมาณ 3-5% ของเด็กวัยเรียนเป็นโรคนี้

อาการของเด็กแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

1.ขาดสมาธิ เด็กจะแสดงอาการวอกแวกง่าย ไม่ใส่ใจรายละเอียด หรือเลินเล่อในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมอื่นๆ ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น เบื่อง่าย แม้ว่าเพิ่งเริ่มเล่นหรือทำกิจกรรมไม่กี่นาที มีปัญหาในการจดจ่อหรือจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม ไม่สามารถเล่นหรือทำการบ้านได้เสร็จ ขี้หลงขี้ลืมทำของหายบ่อยๆ ดูเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย เหม่อ เชื่องช้า และสับสนง่าย ประมวลข้อมูลได้ช้าและไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน ไม่สามารถทำตามคำสั่งหรือแนวทางที่ให้ไว้

2.ซนอยู่ไม่สุข เด็กจะมีลักษณะยุกยิก อยู่ไม่สุข หรือบิดตัวไปมาเมื่อต้องนั่งอยู่กับที่ พูดมาก พูดตลอดเวลา วิ่งไปมา เล่นหรือจับของเล่นทุกชิ้นที่เห็น เคลื่อนที่ตลอดเวลาไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ขณะกินอาหาร เรียนหนังสือ หรือทำกิจกรรมที่ต้องนั่งได้ เล่นเสียงดังตลอดเวลา หรือไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมเงียบๆ ได้

3.หุนหันพลันแล่น เด็กจะมีพฤติกรรมไม่มีความอดทน พูดโพล่งด้วยคำพูดที่ไม่เหมาะสม ชอบขัดจังหวะ หรือพูดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่ แสดงความรู้สึกโดยไม่เก็บอาการ หรือทำสิ่งต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา รอคอยไม่เป็น ชอบแซงคิว

หากเด็กมีอาการในข้อ 1. ตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไป แสดงว่าเขาน่าจะมีปัญหาสมาธิสั้น

แต่ถ้าเขามีอาการในข้อ 2.และ 3. ตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไป แสดงว่าเขาน่าจะเป็นเด็กซน-หุนหันพลันแล่น

แต่ถ้ามีอาการทั้ง 3 ข้อ แสดงว่าเขาเป็นเด็กซน สมาธิสั้น

              โดยเด็กต้องแสดงอาการก่อนอายุ 7 ปี มีอาการทั้งที่บ้านและโรงเรียน รวมทั้งอาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคม การเรียน หรืออาชีพการงานซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นโรคซนสมาธิสั้น

              จากผลการวิจัยในปัจจุบันพบว่า โรคสมาธิสั้นเกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมองโดยมีกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ ประมาณ 30-40% ของเด็กสมาธิสั้น จะมีคนในครอบครัวคนใด คนหนึ่งมีปัญหาอย่างเดียวกัน ปัจจัยจากการเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยเสริมที่ทำให้อาการ หรือความผิดปกติดีขึ้น หรือแย่ลง มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด เช่น ตะกั่ว ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสมีลูกเป็นโรคซนสมาธิสั้นสูงขึ้น

              การวิจัยในปัจจุบันยังไม่พบว่าการบริโภคน้ำตาล หรือช็อกโกแลตมากเกินไป การขาดวิตามิน โรคภูมิแพ้ การดูทีวี หรือเล่นวีดีโอเกมมากเกินไปเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซนสมาธิสั้น เพราะในขณะที่เด็กดูทีวี หรือเล่นวีดีโอเกม เด็กจะถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาพบนจอทีวี หรือ วีดีโอเกมที่เปลี่ยนทุก 2-3 วินาที จึงสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ สมาธิของเด็กมีขึ้นได้จากสิ่งเร้าภายนอก ซึ่งตรงกันข้ามกับสมาธิที่เด็กต้องสร้างขึ้นมาเอง ระหว่างการอ่านหนังสือ หรือทำงานต่างๆ เด็กที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นจะขาดสมาธิด้านนี้

              ทั้งนี้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคซนสมาธิสั้น โดยอาศัยประวัติที่ละเอียด การตรวจร่างกาย การตรวจระบบประสาท และการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเป็นหลักในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจเลือด หรือเอ็กซเรย์สมองที่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น ในบางกรณี แพทย์จำเป็นต้องอาศัยการตรวจอื่น ๆ เช่น การตรวจสายตา (vision test) การตรวจการได้ยิน (Hearing test) การตรวจคลื่นสมอง (EEG) การตรวจเชาวน์ปัญญา และความสามารถทางการเรียน เพื่อช่วยวินิจฉัยแยกโรคลมชัก ความบกพร่องทางสายตา การได้ยิน หรือภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder) ออกจากโรคซนสมาธิสั้น

                นอกจากนี้ โรคออทิสติก โรคจิตเภท ภาวะพัฒนาการล่าช้า และโรคทางจิตเวชอื่นๆ ในเด็ก เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า สามารถทำให้เด็กแสดงอาการ หรือพฤติกรรมเหมือนกับเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น

                การรักษาโรคสมาธิสั้นหรือผู้ที่มีภาวะสมาธิบกพร่องนั้นปัจจุบันนั้น วิธีที่ยอมรับกันทั่วไปว่าได้ผลดี คือ การให้ยาเพิ่มสมาธิ ร่วมกับการฝึกเทคนิคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยและผู้ดูแล และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยผู้ป่วย และผู้ปกครองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ให้เข้าใจอย่างกระจ่างแจ้ง เพื่อที่จะช่วยเหลือเด็กๆ เหล่านั้นให้ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข การรักษาเด็กซนสมาธิสั้นที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ การผสมผสานการรักษาหลายๆ ด้านเข้าด้วยกัน

1.การรักษาด้วยยา
2.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็ก และครอบครัว
3.การช่วยเหลือทางด้านการเรียน

การรักษาด้วยยา ยาเพิ่มสมาธิ ปัจจุบันมีการนำยามาใช้เพื่อเพิ่มสมาธิหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่

1.ยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้น (psychostimulant medications) ยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นถือเป็นยาที่ใช้ได้ผลดีสำหรับโรคสมาธิสั้น ยาเหล่านี้เป็นยาที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย และมีประสิทธิภาพในการรักษาสูง โดยจะช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ซนน้อยลง ดูสงบลง อีกทั้งมีความสามารถในการควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น และอาจช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น ผลที่ตามมาเมื่อเด็กได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะช่วยให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองเพิ่มขึ้น และยังช่วยทำให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนรอบข้างดีขึ้นอีกด้วย รายงานทางการแพทย์ล่าสุดพบว่าการรักษาเด็กสมาธิสั้นด้วยยาในกลุ่มนี้ได้ผลดีถึงร้อยละ 70-90
- Methylphenidate (Ritalin, Metadate, Concerta)
- Amphetamine (Dexedrine, Dextrostat, Adderall)

2.ยาใหม่ในกลุ่มที่ไม่กระตุ้น (non-stimulant) ยาในกลุ่มนี้เรียกว่า "non-stimulant" หมายถึงไม่กระตุ้นสมอง และระบบประสาท แต่เมื่อศึกษาลึกลงไปถึงกลไกการออกฤทธิ์แล้วกลับไม่พบความแตกต่างกับยาในกลุ่มแรก Atomoxetine (Strattera) เป็นยาที่ได้รับการวิจัยอย่างมากที่สุดในปัจจุบัน และใช้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา ในแง่ผลข้างเคียงของยานี้ถือว่าน้อยมาก และพบว่าเมื่อใช้ยานี้ร่วมกับการบำบัดทางด้านพฤติกรรมแล้ว จะช่วยให้เด็กเคารพกฎเกณฑ์ และมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับพ่อแม่ และบุคคลรอบข้าง

3.ยาออกฤทธิ์ต้านเศร้า (antidepressant) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง รู้จักกันในชื่อของ antidepressant medications ยาในกลุ่ม tricyclic antidepressants (TCA) ที่นำมาใช้รักษา ได้แก่ imipramine, desipramine, nortripyline งานวิจัยพบว่า bupropion (Wellbutrin) ช่วยลดอาการซน และขาดความสามารถในการควบคุมตัวเองได้มาก และยังช่วยเพิ่มสมาธิในกรณีที่เด็กขาดสมาธิ เช่น ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น ไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย วอกแวกง่าย ทำของใช้ส่วนตัวหายบ่อยๆ ขี้ลืมบ่อยๆ และมักไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ เด็กที่มีปัญหาอื่นร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า กระวนกระวาย อารมณ์แปรปรวน การใช้ยาออกฤทธิ์ต้านเศร้าร่วมกับกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นจะได้ผลดีกว่าการใช้ยาออกฤทธิ์กระตุ้นเพียงอย่างเดียว

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็ก และครอบครัว ผู้ปกครอง และครูของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้อง เพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก การตี หรือการลงโทษทางร่างกาย เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ได้ผล และจะมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกรธ หรือแสดงพฤติกรรม คือ ต่อต้าน และก้าวร้าวมากขึ้น วิธีการที่ได้ผลดีกว่า คือ การให้คำชม หรือรางวัล (positive reinforcement) เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง และเหมาะสม รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือตัด สิทธิพิเศษ (negative reinforcement) เด็กซนสมาธิสั้นควรมีโอกาสได้คุยกับแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะได้ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดที่ตัวเด็กมี และช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัว โดยเน้นให้เด็กได้ใช้ความสามารถด้านอื่นทดแทนในส่วนที่บกพร่อง ในบางราย ครอบครัวบำบัด (Family Therapy) ก็มีความจำเป็นสำหรับครอบครัวที่มีปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว เพื่อลดความวิตกกังวล และความเครียดของเด็ก

การช่วยเหลือทางด้านการเรียน เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีปัญหาการเรียน หรือเรียนได้ไม่เต็มศักยภาพร่วมด้วย ดังนั้น ครูจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นให้เรียนได้ดีขึ้น

ข้อแนะนำสำหรับครูในการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น คือ จัดให้เด็กนั่งหน้าชั้น หรือใกล้ครูให้มากที่สุดในขณะสอน, จัดให้เด็กนั่งอยู่กลางห้อง หรือให้ไกลจากประตู หน้าต่าง เพื่อลดโอกาสที่เด็กจะถูกทำให้วอกแวก โดยสิ่งต่าง ๆ นอกห้องเรียน, เขียนการบ้าน หรืองานที่เด็กต้องทำในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดำ, ตรวจสมุดจดงานของเด็ก เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบ, อย่าสั่งงานให้เด็กทำ (ด้วยวาจา) พร้อมกันทีเดียวหลาย ๆ คำสั่ง ควรให้เวลาให้เด็กทำเสร็จทีละอย่างก่อนให้คำสั่งต่อไป, คิดรูปแบบวิธีเตือน หรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียน โดยไม่ให้เด็กเสียหน้า, จัดให้เด็กที่อยู่ไม่สุข มีโอกาสใช้พลังงานในทางสร้างสรรค์ เช่น มอบหมายหน้าที่ให้ช่วยครูเดินแจกสมุดให้เพื่อน ๆ ในห้อง เป็นต้น ให้คำชมเชย หรือรางวัล เมื่อเด็กปฏิบัติตัวดี หรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์, หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตำหนิ ว่ากล่าวรุนแรง หรือทำให้เด็กอับอายขายหน้า, หลีกเลี่ยงการตี หรือการลงโทษทางร่างกาย เมื่อเด็กกระทำผิด, ใช้การตัดคะแนน งดเวลาพัก ทำเวร หรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน (เพื่อทำงานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ) เมื่อเด็กทำความผิด, ให้เวลากับเด็กนานขึ้นกว่าเด็กปกติระหว่างการสอน,

หากพบว่ามีวิธีการใดที่บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวควรแจ้งให้ผู้ปกครองและแพทย์ผู้ดูแลรักษาทราบ เพื่อเป็นแนวทางร่วมกันในการปฏิบัติต่อเด็ก ก่อให้เกิดการเรียนรู้ไปในทิศทางเดียวกัน

เมื่อผ่านวัยรุ่นประมาณ 30% ของเด็กซนสมาธิสั้นมีโอกาสหายจากอาการซนได้ แต่จะยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าเด็กดูเหมือนจะซนน้อยลง และสามารถในการควบคุมตนเองดีขึ้น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว บางคนหากสามารถปรับตัว และเลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนักก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ และดำเนินชีวิตได้ตามปกติ บางคนอาจจะยังคงมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่มาก ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการศึกษาต่อการงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ไวรัสโรต้าอาจทำลูกรัก พัฒนาการชะงัก

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556


คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมครับว่า การติดเชื้อไวรัสโรต้าที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงนั้น อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและการเรียนรู้ของลูกน้อยด้วย! โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่มีอาการท้องเสียจากการติดเชื้อซ้ำๆ หรือมีอาการท้องเสียเรื้อรัง แต่ไม่ต้องกังวลจนเกินไปนะครับ ผมมีคำแนะนำดีๆและวิธีป้องกันมาฝากครับ

ไวรัสโรต้า เชื้อโรคร้ายที่ต้องระวัง
     เชื้อไวรัสโรต้า เป็นเชื้อที่มีชีวิตอยู่ได้หลายชั่วโมงบนมือหรือหลายวันบนพื้นผิวทั่วไป และฝังตัวอยู่ในอุจจาระมนุษย์เราได้นานเป็นสัปดาห์ การติดเชื้อไวรัสโรต้าอาจจะมาจากการกินอาหารที่ปนเปื้อน การสัมผัสพื้นผิวต่างๆ หรือการสัมผัสมือของคนอื่น คุณแม่ที่มีลูกเล็ก ต้องระวังและคอยเตรียมพร้อมป้องกันเจ้าเชื้อไวรัสโรต้านี้เพราะเชื้อโรต้าเป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงรุนแรงพบได้บ่อยในเด็กตั้งแต่ 6 เดือน เด็กที่ติดเชื้อจะมีอาการท้องร่วง อาเจียนซ้ำ และมีไข้ บางรายที่เป็นมากอาจทำให้ลูกน้อยต้องนอนโรงพยาบาลไปหลายวันหรือเสียชีวิตได้หากเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงและรักษาไม่ทัน และที่สำคัญอาการท้องร่วงไม่ว่าจะรุนแรงหรือไม่รุนแรงจะมีผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกได้ครับ

   ติดเชื้อโรต้าส่งผลกระทบต่อพัฒนาการลูก เมื่อเด็กติดเชื้อไวรัสโรต้าแล้ว บางคนต้องนอนโรงพยาบาลเพราะเกิดภาวะขาดน้ำ ถ้าเป็นในเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน มีโอกาสต้องนอนโรงพยาบาลมากถึง 20-50% มีการศึกษาพบว่าเด็กที่ท้องร่วงซ้ำๆจาการติดเชื้ออาจส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ เพราะเมื่อติดเชื้อร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารและเกลือแร่ได้ ทำให้การพัฒนาทางร่างกายและสมองของลูกหยุดชะงัก ผลคือเด็กในวัยก่อน 7 ปี จะเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกันได้และหากเด็กที่ท้องร่วงซ้ำๆ ก่อนวัย 2 ปี จะอาจทำให้มี IQ ต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกันได้เด็กอาจเรียนรู้ช้า ไวรัสโรต้าป้องกันได้ตั้งแต่ลูก 2 เดือน

    แน่นอนว่าคงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากเห็นลูกป่วย ไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด รวมไปถึงการติดเชื้อจากไวรัสโรต้าด้วยใช่มั้ยครับ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้ด้วยการให้ดื่มนมแม่ และรักษาความสะอาดและในปัจจุบันมีวัคซีนทางเลือกที่ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ เป็นชนิดกินแบบ 2 ครั้ง และ 3 ครั้ง โดยวัคซีนที่กิน 2 ครั้ง ให้เมื่อเด็กอายุ 2 และ 4 เดือน ทำให้เด็กๆ ได้รับการป้องกันที่เร็วขึ้น สำหรับคุณแม่ที่มีลูกเล็กอายุ 2 เดือน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการป้องกันนะครับ

  ข้อความโดย นพ.วรมันต์ ไวดาบ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคติดเชื้

ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี
เป็นหัวใจสำคัญของการกระตุ้นให้แม่ผลิตน้ำนม คุณแม่ท่านนี้คลอดธรรมชาติจริงๆ ไม่ได้ยาแก้ปวดใดๆ เมื่อลูกออกมา ประสาทตื่นตัวเต็มที่ เมื่อนำมาวางไว้ใกล้ๆหัวนมแม่ จะสามารถหาหัวนมแม่และเริ่มต้นดูดนมแม่ได้เองภายใน 13 นาที
     ดูดบ่อย ทุก 2-3 ชม.นับจากดูดเสร็จครั้งก่อน ลูกหลับมากช่วง 1-2 วันแรก เป็นเพราะยังมีพลังงานสำรองอยู่ ต้องคอยปลุกให้ดูด แต่เมื่อกลับบ้าน เริ่มรู้ตัวแล้วว่าคลอดออกมาแล้ว จะเรียกร้องขอดูดนมแม่ตลอดเวลา แม่จึงควรเอามาดูดคาเต้าหลับกันไปทั้งแม่และลูก
     ดูดถูกวิธี (ท่าดูดถูกต้องและลูกไม่มีพังผืดใต้ลิ้น) เพื่อให้ลูกอมลานนมได้ลึกพอที่จะไม่ทำให้เจ็บหัวนม จึงจะกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดีและเพิ่มการผลิตได้มากขึ้นเรื่อยๆ
     อย่าคิดว่าการที่ลูกขอดูดตลอดเวลาและวางให้นอนเองไม่ได้ เป็นอาการของการได้รับนมไม่พอ นั่นเป็นสัญชาตญาณในการเอาตัวรอด เพราะถ้าลูกยอมให้แม่วางโดยไม่โวยวาย แม่ก็อาจออกนอกถ้ำไปนานๆ ไม่กลับมาให้ลูกได้ดูดบ่อยๆ ทำให้ลูกได้นมไม่เพียงพอ แต่พอลูกถูกวาง ก็จะรู้สึกตัวเพราะตอนอยู่ในท้องลอยอยู่ในน้ำคร่ำ จึงชินกับการเคลื่อนไหว พออยู่นิ่งหรือนานเกินไป ก็มีอาการเหมือนเมาบกนั่นเอง วิธีแก้ไข คือ การอุ้มเดิน เปลไกว เซิ้งกระติ๊บ จะได้ไม่ต้องกินนมพร่ำเพรื่อ หากพบว่าอึ ฉี่บ่อย ครบจำนวนแล้ว (2,6 ครั้ง/วัน)
     ส่วนการขยับปากพร่ำเพรื่อ หากได้นมพอแล้ว อึ ฉี่ ครบ ให้ดูดจุกหลอกหรือดูดนมแม่เหี่ยวๆ
หลัง 3 เดือน ลูกปรับตัวกับโลกใบใหม่ได้แล้ว จะกลายเป็นเด็กดี เชื่อฟังพ่อแม่ น่ารัก เลี้ยงง่าย มองโลกในแง่ดี และเป็นกันเองกับพ่อแม่มากขึ้น จริงๆค่ะ
     ขอขอบคุณ https://www.facebook.com/thaibreastfeeding

การทำ stock นมของตัวเอง

[โดยคุณหมออรพร] working mom หลายคน ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการทำ stock นมของตัวเอง เลยอยากจะสรุป (จากความคิดเห็นและประสบการณ์ของตัวเองนะคะ) ดังต่อไปนี้
              .... ช่วงสัปดาห์แรก .... ยังไม่ต้องกังวลเรื่องการปั้มนมเก็บหรือการทำ stock นม เพราะเป็นช่วงเวลาที่ควรให้ลูกเข้าเต้ามากที่สุด โดยธรรมชาติของเด็กวัยนี้ก็กินนอนไม่เป็นเวลา ดูดนมบ่อยอยู่แล้ว มีการกระตุ้นการสร้างน้ำนมโดยธรรมชาติ ถ้าไม่คัดจริงๆ อาจไม่ต้องฝืนปั้มนม พยายามให้ลูกดูดให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการกินจากขวด หรือการดูดจุกนมปลอม เพื่อป้องกันปัญหาการสับสนหัวนม
              ช่วง 1 เดือนแรก .... หลายคนเริ่มนอนยาวมากขึ้น อาจถึง 4-5 ชั่วโมง ถ้าคุณแม่ท่านไหน โชคดี มีลูกเลี้ยงง่ายแบบนี้จะเริ่มมีเวลาที่เต้านมคัดตึง โดยเฉพาะช่วงกลางดึก ที่ลูกหลับยาวๆ ตอนนี้ล่ะค่ะ เราน่าจะสบายใจที่จะปั้มนมมากขึ้นและเริ่มเก็บ stock นมได้ แต่ถ้าคุณแม่ท่านไหน ลูกยังตื่นบ่อย ดูดบ่อย จนตัวเองยังไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน เราอาจเริ่มเก็บ stock ช้ากว่านั้นได้ ความพร้อมแต่ละคนไม่เหมือนกันค่ะ บางคนห่วงการทำ stock นมจนไม่ให้ลูกเข้าเต้า มัวแต่ปั้ม
              ช่วง 2-3 เดือน...คุณแม่ working ส่วนใหญ่ ต้องเตรียมตัวไปทำงานแล้ว แ้ต่ธรรมชาติของทารกในวัยนี้ก็นอนยาวมากขึ้น น่าจะพอมีเวลาที่จะปั้มนมได้ โดยไม่ต้องอดหลับอดนอนมากนัก ไม่เป็นแพนด้าตาดำเลี้ยงลูก stock นมของเราจะเริ่มมากขึ้น แต่อย่าเพิ่งหวังว่าจะได้เป็นตู้ใหญ่ๆ นะคะ อย่างน้อย มีแค่พอกินวันต่อวันก็ใช้ได้แล้ว ที่สำคัญ ช่วงนี้ อาจหัดให้ลูกดูดขวดนมเตรียมพร้อมที่จะให้คนอื่นเลี้ยงต่อเวลาเราไปทำงานได้
              ช่วงหลัง 3 เดือน คุณแม่ไปทำงานกันแล้ว บางคนบอกว่า ถ้าหนีไปปั้มนมทุก 3 ชั่วโมง คงจะถูกไล่ออกกันพอดี จริงๆ แล้ว ถ้าจะเลียนแบบการกินของลูก วัยนี้จะเริ่มกินห่างมากขึ้น ทุก 4-5 ชั่วโมง เราอาจปั้มนมตอนเช้า ก่อนออกไปทำงาน ตอนพักกลางวันที่ทำงาน ตอนเย็น...ถ้าใครเลิกช้าหน่อย อาจปั้มที่ทำงานก่อนกลับบ้าน หรือใครเลิกเร็ว 4-5 โมงเย็นก็กลับมาปั้มที่บ้านก็ได้ ขอแค่ว่า การปั้มแต่ละครั้ง ขอให้ปั้มให้เกลี้ยงเต้าจริงๆ แล้วร่างกายก็จะมีกลไกกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้มากขึ้นเอง หลังจากกลับบ้านให้ลูกดูดจากเต้า ไม่ต้องใช้นม stock ตอนกลางคืน แล้วแต่คน จะปั้มเก็บก็ได้ ถ้ามีอาการคัดเต้านม อันนี้ตามอัธยาศัยค่ะ เราจะรู้สึกว่า ช่วงนี้ จะเป็นช่วงเวลาที่ปั้มนมทำ stock ได้มากที่สุด stock นมจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น เพียงพอสำหรับลูกของเราไปเรื่อยๆ ถ้าเราขยัีนและมีความสม่ำเสมอ หน้าที่การงานก็สามารถทำได้ตามปกติ เราทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าลูกจะเลิกกินนมเลย.....
              .....ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ควบคู่ไปกับการที่คุณแม่ดูแลสุขภาพตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ กินน้ำให้มาก หาเวลาออกกำลังกายบ้าง และให้ลูกดูดเต้าอย่างสม่ำเสมอนะคะ
              .....การทำ stock นมของแต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวัน หน้าที่การงาน ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อย่าเครียดกับการนั่งทำ stock นม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรเป็นสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข คุณแม่ลองปรับเวลาการทำ stock นม ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของตัวเองนะคะ ....
ขอให้ทุกคน มีความสุขกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่ะ
www.facebook.com/kids.room.5

นมแม่ กินได้นานเท่าไหร่กันแน่

นมแม่ กินได้นานเท่าไหร่กันแน่
บางคนบอกว่าหลัง 6 เดือน บางคนบอก 1 ปี บางคนบอก 3 เดือนเท่านั้น
แต่! องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า
* ทารกควรกินนมแม่ล้วน 6 เดือนแรก คือนมแม่เท่านั้นค่ะ ไม่ต้องทานน้ำ น้ำส้ม กล้วยหรืออาหารเสริมใดๆ
** หลัง 6 เดือนให้ลูกกินนมแม่ต่อไป ควบคู่กับอาหารตามวัยจน 2 ปี
***หรือให้กินนมแม่ได้นานกว่านั้น เพราะนมแม่ยังมีประโยชน์และภูมิคุ้มกันตราบใดที่น้ำนมยังผลิตอยู่
หลัง 6 เดือน เด็กที่กินนมแม่หรือนมผสมจะต้องการสารอาหารมากขึ้น ไม่ต่างกัน
จึงสำคัญมากที่เด็กวัย 6 เดือนขึ้นไปได้รับอาหารตามวัยที่เหมาะสม <ไม่ใช่นมแม่หมดคุณค่านะคะ>
อย่างไรก็ตาม อาหารที่แพ้ง่ายเช่น ไข่ขาว+อาหารทะเล+นมวัว ควรรอหลัง 1 ขวบค่อยให้ลองชิมได้หากต้องการ
หากต้องการเพิ่มน้ำหนัก วัย 1+ ขวบควรเน้นอาหาร 3 มื้อให้ครบ 5 หมู่
นมวัว/ขนม/นมพี/โปรตีนผงไม่ใช่อาหารที่เด็กจำเป็นต้องทานค่ะ
ภาพถ่ายจากหนังสือ Breastfeeding Atlas รายละเอียดหนังสือ http://www.thaibreastfeeding.org/news/1199
ขอขอบคุณ https://www.facebook.com/thaibreastfeeding

นมแม่ กินได้นานเท่าไหร่กันแน่

นมแม่ กินได้นานเท่าไหร่กันแน่
บางคนบอกว่าหลัง 6 เดือน บางคนบอก 1 ปี บางคนบอก 3 เดือนเท่านั้น
แต่! องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า
* ทารกควรกินนมแม่ล้วน 6 เดือนแรก คือนมแม่เท่านั้นค่ะ ไม่ต้องทานน้ำ น้ำส้ม กล้วยหรืออาหารเสริมใดๆ
** หลัง 6 เดือนให้ลูกกินนมแม่ต่อไป ควบคู่กับอาหารตามวัยจน 2 ปี
***หรือให้กินนมแม่ได้นานกว่านั้น เพราะนมแม่ยังมีประโยชน์และภูมิคุ้มกันตราบใดที่น้ำนมยังผลิตอยู่
หลัง 6 เดือน เด็กที่กินนมแม่หรือนมผสมจะต้องการสารอาหารมากขึ้น ไม่ต่างกัน
จึงสำคัญมากที่เด็กวัย 6 เดือนขึ้นไปได้รับอาหารตามวัยที่เหมาะสม <ไม่ใช่นมแม่หมดคุณค่านะคะ>
อย่างไรก็ตาม อาหารที่แพ้ง่ายเช่น ไข่ขาว+อาหารทะเล+นมวัว ควรรอหลัง 1 ขวบค่อยให้ลองชิมได้หากต้องการ
หากต้องการเพิ่มน้ำหนัก วัย 1+ ขวบควรเน้นอาหาร 3 มื้อให้ครบ 5 หมู่
นมวัว/ขนม/นมพี/โปรตีนผงไม่ใช่อาหารที่เด็กจำเป็นต้องทานค่ะ
ภาพถ่ายจากหนังสือ Breastfeeding Atlas รายละเอียดหนังสือ http://www.thaibreastfeeding.org/news/1199
ขอขอบคุณ https://www.facebook.com/thaibreastfeeding

การทำ stock นมของตัวเอง

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556


[โดยคุณหมออรพร] working mom หลายคน ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการทำ stock นมของตัวเอง เลยอยากจะสรุป (จากความคิดเห็นและประสบการณ์ของตัวเองนะคะ) ดังต่อไปนี้
                            .... ช่วงสัปดาห์แรก .... ยังไม่ต้องกังวลเรื่องการปั้มนมเก็บหรือการทำ stock นม เพราะเป็นช่วงเวลาที่ควรให้ลูกเข้าเต้ามากที่สุด โดยธรรมชาติของเด็กวัยนี้ก็กินนอนไม่เป็นเวลา ดูดนมบ่อยอยู่แล้ว มีการกระตุ้นการสร้างน้ำนมโดยธรรมชาติ ถ้าไม่คัดจริงๆ อาจไม่ต้องฝืนปั้มนม พยายามให้ลูกดูดให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการกินจากขวด หรือการดูดจุกนมปลอม เพื่อป้องกันปัญหาการสับสนหัวนม
                           ช่วง 1 เดือนแรก .... หลายคนเริ่มนอนยาวมากขึ้น อาจถึง 4-5 ชั่วโมง ถ้าคุณแม่ท่านไหน โชคดี มีลูกเลี้ยงง่ายแบบนี้จะเริ่มมีเวลาที่เต้านมคัดตึง โดยเฉพาะช่วงกลางดึก ที่ลูกหลับยาวๆ ตอนนี้ล่ะค่ะ เราน่าจะสบายใจที่จะปั้มนมมากขึ้นและเริ่มเก็บ stock นมได้ แต่ถ้าคุณแม่ท่านไหน ลูกยังตื่นบ่อย ดูดบ่อย จนตัวเองยังไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน เราอาจเริ่มเก็บ stock ช้ากว่านั้นได้ ความพร้อมแต่ละคนไม่เหมือนกันค่ะ บางคนห่วงการทำ stock นมจนไม่ให้ลูกเข้าเต้า มัวแต่ปั้ม
                           ช่วง 2-3 เดือน...คุณแม่ working ส่วนใหญ่ ต้องเตรียมตัวไปทำงานแล้ว แ้ต่ธรรมชาติของทารกในวัยนี้ก็นอนยาวมากขึ้น น่าจะพอมีเวลาที่จะปั้มนมได้ โดยไม่ต้องอดหลับอดนอนมากนัก ไม่เป็นแพนด้าตาดำเลี้ยงลูก stock นมของเราจะเริ่มมากขึ้น แต่อย่าเพิ่งหวังว่าจะได้เป็นตู้ใหญ่ๆ นะคะ อย่างน้อย มีแค่พอกินวันต่อวันก็ใช้ได้แล้ว ที่สำคัญ ช่วงนี้ อาจหัดให้ลูกดูดขวดนมเตรียมพร้อมที่จะให้คนอื่นเลี้ยงต่อเวลาเราไปทำงานได้
                           ช่วงหลัง 3 เดือน คุณแม่ไปทำงานกันแล้ว บางคนบอกว่า ถ้าหนีไปปั้มนมทุก 3 ชั่วโมง คงจะถูกไล่ออกกันพอดี จริงๆ แล้ว ถ้าจะเลียนแบบการกินของลูก วัยนี้จะเริ่มกินห่างมากขึ้น ทุก 4-5 ชั่วโมง เราอาจปั้มนมตอนเช้า ก่อนออกไปทำงาน ตอนพักกลางวันที่ทำงาน ตอนเย็น...ถ้าใครเลิกช้าหน่อย อาจปั้มที่ทำงานก่อนกลับบ้าน หรือใครเลิกเร็ว 4-5 โมงเย็นก็กลับมาปั้มที่บ้านก็ได้ ขอแค่ว่า การปั้มแต่ละครั้ง ขอให้ปั้มให้เกลี้ยงเต้าจริงๆ แล้วร่างกายก็จะมีกลไกกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้มากขึ้นเอง หลังจากกลับบ้านให้ลูกดูดจากเต้า ไม่ต้องใช้นม stock ตอนกลางคืน แล้วแต่คน จะปั้มเก็บก็ได้ ถ้ามีอาการคัดเต้านม อันนี้ตามอัธยาศัยค่ะ เราจะรู้สึกว่า ช่วงนี้ จะเป็นช่วงเวลาที่ปั้มนมทำ stock ได้มากที่สุด stock นมจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น เพียงพอสำหรับลูกของเราไปเรื่อยๆ ถ้าเราขยัีนและมีความสม่ำเสมอ หน้าที่การงานก็สามารถทำได้ตามปกติ เราทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าลูกจะเลิกกินนมเลย.....
                           .....ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ควบคู่ไปกับการที่คุณแม่ดูแลสุขภาพตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ กินน้ำให้มาก หาเวลาออกกำลังกายบ้าง และให้ลูกดูดเต้าอย่างสม่ำเสมอนะคะ
                           .....การทำ stock นมของแต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวัน หน้าที่การงาน ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อย่าเครียดกับการนั่งทำ stock นม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรเป็นสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข คุณแม่ลองปรับเวลาการทำ stock นม ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของตัวเองนะคะ ....
ขอให้ทุกคน มีความสุขกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่ะ
www.facebook.com/kids.room.5


แม่ให้นมดื่มชา-กาแฟได้ค่ะ แต่ควรระวังอย่าทานมาก และระวังลูกแพ้โปรตีนนมวัวผ่านมแม่


แม่ให้นมดื่มชา-กาแฟได้ค่ะ แต่ควรระวังอย่าทานมาก และระวังลูกแพ้โปรตีนนมวัวผ่านมแม่ บางคนกินกาแฟแล้วไม่มีผลต่อการนอนของลูก แต่บางคนจิบโคล่าไปครึ่งแก้วเท่านั้น คุณลูกกลับตาค้างไม่ยอมนอน เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น?
1. คนที่กินกาแฟเป็นประจำอยู่แล้วตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ ลูกในท้องจะเคยชินกับระดับคาเฟอีนที่ได้รับ (แต่พอไม่ได้คาเฟอีนในช่วงแรกเกิด อาจดูเหมือนจะซึมง่วงได้) สำหรับแม่ท้องที่ไม่ค่อยดื่มกาแฟ ลูกจะไม่ชินกับคาเฟอีนจึงทำให้นอนหลับไม่สนิท หงุดหงิด งอแง
** แต่อย่างไรก็ไม่ใช่ว่าจะแนะนำให้แม่ตั้งครรภ์กินกาแฟนะคะ บำรุงแทบแย่ แต่กินกาแฟแก้วเดียว ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารน้อยลง เท่ากับบำรุงเสียเปล่าค่ะ การดื่มกาแฟมากๆ อาจส่งผลต่อน้ำหนักตัวของทารก แถมถ้าทานกาแฟนม แม่และลูกจะได้รับนมวัวเกินความจำเป็น ไปกระตุ้นให้ลูกในครรภ์เป็นภูมิแพ้ได้ค่ะ

2. ถ้าเป็นห่วงเรื่องคาเฟอีนในน้ำนม ก็ลูกกินนมแม่ก่อนแม่ทานกาแฟค่ะ (เลือกไม่ให้ให้นมหรือปั๊มนม 2 ชม.หลังจากที่ได้ดื่มกาแฟ เพราะจะเป็นช่วงที่วัดระดับคาเฟอีนได้สูงที่สุด หลังจากนั้นระดับคาเฟอีนจะลดลงเอง จะปั๊มหรือไม่ปั๊มออกก็ได้ค่ะ)

3. สำหรับคุณแม่ที่ลูกๆ ยังเบบี๋มากๆ (เล็กกว่า 6 เดือน) คาเฟอีนที่ถูกส่งผ่านไปถึงทารกจะอยู่ในตัวลูกนานกว่า เพราะตับที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่ จึงควรระวังการสะสมของคาเฟอีนในร่างกายลูกค่ะ

4. สรรพคุณของคาเฟอีนในชา กาแฟ โคล่า โกโก้ ทำให้กระปรี้กระเปร่าค่ะ แต่มันมีสรรพคุณในการขับน้ำและลดการดูดซึมของสารอาหารต่างๆ ดังนั้นถ้าจะทานก็ไม่ควรทานพร้อมกับวิตามิน (ลดการดูดซึม ประสิทธิภาพของวิตามินจะต่ำลง) และควรทานน้ำให้มากขึ้นเพื่อทดแทนน้ำนมถูกขับออกมา และควรทานกาแฟพร้อมนมถั่วเหลืองที่มีแคลเซี่ยม ลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนได้

5. การกินกาแฟที่เข้มข้น หรือปริมาณมากกว่า 3 แก้วต่อวัน ทำให้ระดับธาตุเหล็กในนมแม่ลดลงถึง 30% ค่ะ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ http://www.breastfeeding.asn.au/bfinfo/drugs.html

แพ้โปรตีนแปลกปลอมในนมแม่/แพ้นมวัว


ลูกแพ้โปรตีนแปลกปลอมได้ตั้งแต่ในท้องแม่นะคะ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรระวังอย่าทานนมวัวนมถั่วหรือไข่มากๆ ทานนมวันละกล่อง+แคลเซี่ยมเม็ดและอาหารธรรมชาติเช่นงาดำป่น ปลาเล็กค่ะ

โปรตีนนมและไข่ขาว (albumin) มีขนาดใหญ่กว่าโปรตีนธรรมชาติของคน เมื่อร่างกายเจอโปรตีนนมวัวในปริมาณมากๆ บางคนที่มีประวัติแพ้อยู่แล้วจะยิ่งถูกกระตุ้นและจะ "ไว" ต่อสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ ร่างกายของทารกก็ยิ่งพยายามต่อสู้กับโปรตีนแปลกปลอมและออกอาการเป็นผื่น ผิวสากๆ เสมหะเยอะ หายใจครืดคราด ลมเยอะ ถ่ายเป็นเลือดค่ะ

บางคนก็ไปหาหมอ หมอก็อธิบายไม่ได้ แต่กลับบอกว่าแพ้นมแม่หรือนมแม่เป็นพิษ (ซะงั้น ลูกแม่จะแพ้นมแม่ได้อย่างไรเน้อ) แต่ที่จริงก็เป็นเพราะโปรตีนแปลกปลอมในนมแม่อันเนื่องจากอาหารที่แม่ทานค่ะ

พอแม่งดนมวัวนมถั่ว ลูกก็หาย พอมาทานใหม่ ลูกก็เป็นอีก ดังนั้นแม่จะเป็นคนที่รู้ดีที่สุดว่าตนทานอะไรและลูกจะมีอาการนะคะ วิธีรักษาคือให้กินนมแม่ตามปกติ แต่แม่เลี่ยงการกระตุ้น คืองดทานสิ่งที่ลูกแพ้ค่ะ พอลูกโตขึ้น ลำไส้แข็งแรงขึ้น เค้าจะรับต่อโปรตีนเหล่านี้ได้ดีขึ้นนะคะ


ขอขอบคุณ https://www.facebook.com/thaibreastfeeding?fref=ts


 

Most Reading